วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ

1. สุนทรียศาสตร์ คืออะไร
ตอบ = เป็นวิชาที่ว่าด้วยความงาม ความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม
2.สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญ ต่อมนุษย์อย่างไร
ตอบ = 1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงาม อย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี อย่างมีเหตุมีผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และ นามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
3.สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ = ทำให้พยาบาลมีจิตใจโอบอ้อมอารีและใช้ภาษาในการสื่อสารต่อผู้ป่วยอย่างไพเราะทำให้พยาบาลเห็นคุณค่าของความเป็นคน ทำให้ตั้งใจในการดูแลรักษา








ประติมากรรมรูปเคารพของไทย มีลักษณะพิเศษอะไรบ้าง
ประติมากรรมรูปคนของไทยกล่าว โดยสรุปมีลักษณะพิเศษดังนี้
1. ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว มักทำเป็นผิวเกลี้ยงเรียบสร้างความงามของรูปให้เกิดโดยการแสดงความสูงต่ำของพื้ นผิว รูปทรงช่องไฟแสดงความโค้งเว้าของปริมาตรทั้งส่วนพระเศียร พระศอ พระอุระ พระวรกาย พระพาหา จนเกิดความอ่อนหวานคดโค้งของเส้น รูปนอกและเ ส้นภายในมีความอ่อนหวานทั้งส่วนละเอียดและส่วนรวม
2. ไม่แสดงความเหมือนจริงและไม่แสดงการเลียนแบบรูปคนในธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกชัด เจนรวมทั้งไม่แสดงอารมณ์แบบมนุษย์
3. ไม่นิยมปั้นรูปเหมือน ตามคติความเชื่อแต่โบราณ ไม่มีการสร้างรูปเหมือนบุคคลไว้สักการะบูชา นอกจากการสร้างรูปแทนเท่ านั้น รูปแทนเหล่านั้นมักสร้างเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูป
4. ลีลาท่าทางของประติมากรรมรูปเคารพของไทยล้วนเป็นแบบแผนที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ขึ้นอย่างมีระเบียบและถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกลีลาท่าทางของรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปนี้ว่า


http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm
ปางพระพุทธรูปทองคำ ศิลปะสมัยอยุธยา พบที่กรุองค์ปรางค์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm
พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ปางห้ามสมุทร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

เรื่องใดที่มักนำมาแสดงในประติมากรรมเล่าเรื่อง
ประติมากรรมเล่าเรื่อง เป็นประติมากรรมประกอบศิลปสถาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นมาเพื่อสะท้อนคติความเชื่อทางศา สนาด้วยการพรรณนาหรือเล่าเรื่องด้วยภาพประติมากรรมทางเทคนิคปั้นปูนหรือแกะสลัก ลักษณะของภาพประติมากรรมเป็นภาพนูน สูงและภาพนูนต่ำมีพื้ นหลังรองรับเรื่องที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือทศชาติ ซึ่งมักเลือกแสดงเหตุการณ์ตอนที่สำคัญ หรือ น่าพิศวงกล่าวคือ ภาพแต่ละกลุ่มสร้างขึ้นด้วยตัวเอกที่มีพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้น ๆ เป็นประธานหรือเป็น หลักขององค์ประกอบ และมีตัวประกอบที่สำคัญตามแนวเรื่องที่ต้องการเพียงไม่กี่ตัว รวมทั้งแทรกสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนของอาคารเป็นฉากหลังเท่า ที่จำเป็น เพื่อทำให้ผู้ดูได้ทราบเรื่องราวตอนนั้นอย่างสมบูรณ์ เช่น ภาพปูนปั้นปางเสด็จจากดาวดึงส์ ในซุ้มทิศใต้ของพระมณฑปวั ดตระพังทองหลาง สุโขท ัย มีลักษณะเป็นภาพปูนปั้นรูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ลักษณะของพระพุทธรูปเป็นภาพนูนสูง ปางลีลา มีพระพุทธลักษณะแบบสุโขทัยงดงามมากเคลื่อนองค์อยู่บนรัตนโสปานะ (บันไดแก้ว) แวดล้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหม ที่มีขนาดรูปร่างเล็กกว่า ภาพนูนต่ำกว่า ภาพทศชาติป ั้นปูน หน้าพระอุโบสถวัดไลย์ ลพบุรี ภาพเรื่องปฐมสมโพธิกถาปั้นด้วยปูนที่เมรุทิศ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประติมา กรรมผนังเรื่องพุทธประวัติรอบพระวิหารพุทธบาทวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีภาพประติมากรรมเล่า เรื่อ งวรรณคดี เช่น ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ประดับผนังระเบียงพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหา นคร จำนวน 154 ภาพ เป็นต้น ประติมากรรมเหล่านี้ นอกจากจะแสดงคุณค่าทางเรื่องราว คุณค่าทางฝีมือและการแสดงออกของประติมากรรม เองแล้ว ยั งมีส่วนช่วยตกแต่งสถาปัตยกรรมนั้นให้อลังการและทรงคุณค่ามากขึ้นอีกด้วย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm#sect4

พระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูงปางลีลา และซากพระวิหาร วัดเชตุพน จังหวัดสุโขทัย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm#sect4

ประติมากรรมนูนต่ำประดับผนังพระวิหารพระพุทธบาทวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm#sect4

ประติมากรรมนูนต่ำแกะสลักหินอ่อน จากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ประดับรอบฐานพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm#sect4
สางแปลงสำริด

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามอาจารย์


1. สุนทรียศาสตร์ คืออะไร
ตอบ = เป็นวิชาที่ว่าด้วยความงาม ความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม

2.สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญ ต่อมนุษย์อย่างไร
ตอบ =
1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงาม อย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี อย่างมีเหตุมีผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

3.สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ =
ทำให้พยาบาลมีจิตใจโอบอ้อมอารีและใช้ภาษาในการสื่อสารต่อผู้ป่วยอย่างไพเราะทำให้พยาบาลเห็นคุณค่าของความเป็นคน ทำให้ตั้งใจในการดูแลรักษา